ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือในแต่ละปี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบประกอบอื่นๆ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อเป็นการวัดผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินของกิจการ แล้วจะต้องนำงบการเงินให้ผู้ตรวจสอบรับรองบัญชีทำการตรวจสอบรับรองงบการเงินของกิจการ เมื่อกิจการได้มีการยื่นงบการเงินให้กับกรมสรรพากรแล้ว ในปีต่อ ๆ ไปกิจการอาจจะถูกเจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากรเข้ามาตรวจสอบการจัดทำบัญชีและการเสียภาษีของกิจการว่าถูกต้องหรือไม่
..............
ประเด็นคำถามสุดฮิตของเจ้าหน้าที่สรรพากร จะให้กระทบยอดด้านรายได้ และรายจ่าย ภ.ง.ด.50(CIT) , ภ.พ.30 (VAT) และ ภ.ง.ด.53 (WHT) ซึ่งมักจะมีรายการที่ยอดไม่ตรงกัน ซึ่งจะต้องทําการพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินได้ทราบถึงความแตกต่างดังกล่าว หากพิสูจน์ความแตกต่างไม่ได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจประเมิน ดังนั้น จึงควรเตรียมพร้อมกับคำถามของเจ้าหน้าที่ประเมิน
........................
หนังสือ “เจาะลึก...กระทบยอด ภ.ง.ด.50, ภ.พ.30 และ ภ.ง.ด.53” ได้จัดพิมพ์ขึ้น โดยปรับปรุงใหม่ทั้งหมดให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ และประเด็นข้อโต้แย้งที่สําคัญที่นักบัญชีควรทราบ พร้อมแนวปฏิบัติในการกระทบยอดความแตกต่างดังกล่าว
Related Book