การแก้ปัญหาการว่างงาน และการจัดระบบรัฐสวัสดิการ (Welfare State) อันเป็นแนวนโยบายเศรษฐกิจ ที่เน้นบทบาทของภาครัฐบาล ในทศวรรษ 2510 เมื่อเกิดภาวะ Stayflation (=Staynation+Inflation) อันเป็นสภาวการณ์ ที่ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาการว่างงาน และปัญหาเงินเฟ้อพร้อมๆ กันเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ก็ถึงจุดอับ เมื่อมิอาจให้อรรถาธิบาย และข้อเสนอแนะทางนโยบายได้ ครั้นเมื่อเกิดวิกฤติ กยรณ์น้ำมันครั้งแรกในปี 2516 ฉันทมติว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์ก็สิ้นอิทธิพล โดยที่ฉันทมติแห่งวอชิงตันถีบตัวขึ้นมามีอิทธิพลแทน ที่ลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่ (Neo-Liberalism) ลงรากปักหลักในสังคม เศรษฐกิจโลก เมื่อโรนัลด์ เรแกน ยึดกุมเก้าอี้ประธานาธิบดีอเมริกัน และ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ยึดครองอำนาจการบริหารสหราชอาณาจักรในช่วงต้น ทศวรรษ 2520 นับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา ฉันทมติแห่งวอชิงตันก็แผ่อิทธิพลปกคลุมโลก แนวนโยบายเศรษฐกิจตามฉันทมติแห่งวอชิงตันมีพื้นฐานจากลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงเน้นแนวทางเสรีนิยมทั้งด้านการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศ และด้วยเหตุ ที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของกลไกราคาในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ฉันทมติแห่งวอชิงตันจึง ต้องการการถ่ายโอนการผลิตจากภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) และการลดการกำกับ และลดการควบคุม (Deregulation)
Barcode | Call No. | Volume | Status | Due Date | Total Queue | |
---|---|---|---|---|---|---|
1010068099 | EC00012 | Available | 0 | Please Login |
Related Book