เปลี่ยนมุมมองของการมองเห็นปัญหา ไปสู่ "การแก้ไขปัญหา" กันเถอะ ในวิถีโตโยต้ามักมีคำกล่าวว่า "อย่าเป็นเพียงนักวิเคราะห์ปัญหา แต่มาเป็นนักแก้ไขปัญหากันเถอะ" เวลาที่พบปัญหา คนส่วนใหญ่มักเพ่งเล็งจุดอ่อนมากกว่าที่จะมองจุดแข็งที่เป็นผลดีต่อตัวเองและองค์กร ทำให้มองเห็นแค่เพียงว่ามีจุดอ่อนอยู่กี่จุด และรับรู้ว่าเกิดปัญหาขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ลงมือแก้ไข จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงจุดอ่อนดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญคืออยากให้คิดว่า "ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงได้" ซึ่งเป็นลักษณะที่แท้จริงของนักแก้ไขปัญหา อย่างเช่น บริษัท A เมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้วจะมีการทำ QC (ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า) ก่อนจะนำออกสู่ตลาด และเมื่อใดที่พบจุดอ่อนหรือปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า ก็รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และเขียนปัญหาลงในรายงานแล้วส่งให้หัวหน้างาน แต่ไม่ได้นำมาลงมือแก้ไข แม้ว่าพนักงานของบริษัทนี้จะเข้าใจในประเด็นปัญหาเป็นอย่างดี แต่ยังมีจุดอ่อนในการดำเนินการแก้ไข หลังจากนั้น ผู้บริหารซึ่งตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและจุดอ่อนของลูกน้องที่แก้ไขปัญหาไม่ได้ จึงตั้งแผนก "ลงมือทำทันที" ขึ้น เมื่อใดที่พนักงานพบประเด็นปัญหา
Barcode | Call No. | Volume | Status | Due Date | Total Queue | |
---|---|---|---|---|---|---|
1010075859 | BA00028 | CheckOut | Dec 12, 2024 | 0 | Please Login |
Related Book